คำถามที่พบบ่อย

เชื้อเอชไอวีมาจากไหน?

ผู้ป่วยแรกที่ได้รับเชื้อเอชไอวีนั้น ได้รับการตรวจพบจากการเก็บตัวอย่างเลือดในปีพ.ศ. 2502 จากชายในเมืองกินชาซ่า ประเทศคองโก (โดยมิได้มีการระบุว่าเขารับเชื้อมาได้อย่างไร) และหลังจากการวินิจฉัยอย่างละเอียดพบว่า เชื้อเอชไอวี 1 นี้ เกิดจากไวรัสที่ได้รับเชื้อมาในช่วงสิบถึงยี่สิบปี่ก่อนหน้า ซึ่งลิงชิมแพนซีในแอฟริกา คือ สายพันธ์ุที่มีเชื้อนี้อยู่ อันถือเป็นที่มาของไวรัสชนิดนี้ นักวิจัยเชื่อว่าเชื้อเอชไอวี 1 นั้น เกิดจากการที่นักล่าสัตว์ที่ฆ่าลิงแล้วได้รับเลือดและติดเชื้อมา


ต้องใช้ระยะเวลานานเท่าใดกว่าเชื้อเอชไอวี จะก่อให้เป็นโรคเอดส์ได้?

ในปัจจุบัน ระยะเวลาโดยเฉลี่ยระหว่างการติดเชื้อเอชไอวี และการแสดงอาการของโรคที่นำไปสู่โรคเอดส์ ใช้เวลากว่า 8 - 11 ปี ซึ่งระยะเวลาที่ว่านี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย  อาทิ ความแข็งแรงของสภาพร่างกายและจิตใจ วันนี้ ความเจริญทางการแพทย์และการรักษา สามารถทำให้เรามีชีวิตอยู่กับเชื้อเอชไอวีได้ ซึ่งก็เหมือนกับโรคเรื้อรังอื่นๆ อาทิ เบาหวาน ที่เราสามารถอยู่กับโรคได้ หากหมั่นทานยาตรงเวลาตามแพทย์แนะนำ และดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้เป็นปกติ


ภาวะการติดเชื้อร่วม (Co-Infections)

วัณโรค และตับอักเสบ คืออาการร่วมของผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี เพราะเชื้อโรคสามารถเป็นผลมาจากเอชไอวี หรือก่อให้เกิดเอชไอวีได้ จึงเรียกว่า ภาวะการติดเชื้อร่วม (Co-Infections) การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และซี มีวิธีการติดต่อได้แบบเดียวกับเชื้อเอชไอวี โดยการสัมผัสของของเหลวในร่างกาย เช่น เลือด อสุจิ สารคัดหลั่ง หรือจากแม่สู่ลูก โดยไวรัสทั้งสองชนิดจะนำไปสู่มะเร็งตับ และเสียชีวิตได้ ปัจจุบันได้มีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และใช้ได้ผลในคนไข้เอชไอวีเช่นกัน ทว่า ยังไม่มีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบซี  ซึ่งไวรัสชนิดนี้สามารถรักษาได้ ขึ้นอยู่กับร่างกายและระยะเวลา และจะได้ผลดีที่สุดก็ต่อเมื่อเข้ารับการรักษาทันทีที่ตรวจเจอเชื้อ

สำหรับวัณโรค หรือทีบีนั้น คือภาวะที่พบบ่อยที่สุดในผู้ติดป่วยเอดส์ และในหลายๆ ราย  ผู้ติดเชื้อเอชไอวีก็ตรวจพบจากการเป็นวัณโรคมาก่อน ซึ่งโรคนี้ถือเป็นอาการหลักของผู้ติดเชื้อที่เสียชีวิต วัณโรคติดต่อทางน้ำลาย จากการไอหรือจาม โดยเมื่อได้รับเชื้อแล้วผู้ป่วยอาจไม่มีอาการปรากฏให้เห็น ทว่า วัณโรคจะแสดงอาการของไข้หวัด ไอ เจ็บหน้าอก น้ำหนักตัวลด และจะมีผลโดยตรงกับปอด โรคนี้สามารถรักษาได้จากการทานยาปฏิชีวนะ ติดต่อกันเป็นระยะเวลาประมาณหกเดือน หรือนานกว่านั้นแล้วแต่ความรุนแรงของโรค


ถ้าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะทำให้ติดเชื้อเอชไอวีได้หรือไม่?

การเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี แม้ผิวหนังของเราจะเป็นแผลหรือไม่ก็ตาม และถ้าอาการของโรคนั้นๆ ทำปฏิกิริยาต่อผิว เกิดการระคายเคือง เป็นแผล หรือเจ็บ ก็จะทำให้เชื้อเอชไอวีมีโอกาสเข้าสู่ร่างกายได้ในขณะมีเพศสัมพันธ์


เอชไอวี รักษาได้ไหม?

ตอบตรงๆ ว่ารักษาให้เชื้อหายไปจากร่างกายไม่ได้ ทุกวันนี้เหล่านักวิจัยและแพทย์พยายามหาทางรักษาให้เชื้อหมดไปอยู่ แต่ว่า การรับประทานยา จะสามารถทำให้เรามีชีวิตอยู่ได้ราวกับคนที่ไม่มีเชื้อ  เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ คุณจะต้องรีบตรวจเมื่อมีความเสี่ยง เพื่อที่จะรู้เร็ว และรักษา ดูแลตัวเอง ทานยาตามแพทย์สั่ง เพื่อให้เราดำรงชีวิตได้อย่างปกติ ไม่มีโรคแทรก


เอดส์รักษาได้ไหม?

เอดส์รักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่การรับประทานยาต้านจะช่วยคงระดับของเชื้อไวรัสไม่ให้แผ่ขยายในร่างกาย แล้วไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของเรา อยากจะบอกว่า หลายๆ ท่านที่ยังมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงด้วยการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง แม้เราจะทำให้เชื้อไวรัสหายไปจากร่างกายไม่ได้ แต่เราควบคุมปริมาณและอยู่กับมันได้
ยาต้านไวรัส คือ ยาที่จะช่วยคงระดับเชื้อเอชไอวีในร่างกายให้อยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น ระบบภูมิคุ้มกันของเราก็สามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ นี่แหละที่จะทำให้ผู้มีเชื้ออยู่ได้ มีอายุยืนยาวหมือนคนที่ไม่มีเชื้อ
การเริ่มรับประทานยาต้านนั้น เราจำต้องมีวินัยในการทานยา คือทานทุกวัน อย่างสม่ำเมอ เพื่อไม่ให้ร่างกายเกิดอาการดื้อยา
ผลข้างเคียง คือเมื่อร่างกายเกิดอาการดื้อยาแล้วนั้น จะส่งผลที่น่าเป็นห่วงคือ จะทำให้การรักษาเป็นไปอย่างยากลำบาก ต้องมีการเปลี่ยนยาที่มีผลแรงขึ้น
เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วที่การรักษาโดยการรับประทานยาต้านไวรัสได้รับการรับการรับรองด้านการ รักษาในสหรัฐอเมริกาและยุโรป แม้ว่า ยาต้านนี้จะได้รับการจัดสรรสู่ประชากรในหลายๆ ประเทศ ทว่าก็ยังมีอีกหลายแห่งที่มีข้อจำกัดในการจัดสรรยาต้านให้เพียงพออันเนื่อง มาจากเงินทุน


"ถ้ารู้เร็ว ก็ดูแลตัวเองได้เร็ว"
การตรวจและรักษาอย่างเนิ่นๆ นั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดูแลร่างกายและชีวิต

หากยังมีข้อสงสัยเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับ ออรัลเซ็กซ์ เพศสัมพันธ์ หรือเชื้อเอชไอวี... ติดต่อเราผ่านช่องทางเหล่านี้ได้ 24 ชั่วโมง



SOURCE: CDC.GOV, AIDS.ORG