โรคไวรัสตับอักเสบ เอ

โรคไวรัสตับอักเสบ เอ (Hepatitis A)

ชื้อไวรัสตับอักเสบ เอเป็นเชื้อไวรัสกลุ่ม picornavirus ติดเชื้อเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผู้ที่เคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ จะมีภูมิอยู่ตลอดชีวิตและจะไม่เป็นโรคนี้อีก

เมื่อเรารับประทานอาหารที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ เข้าไป เชื้อจะเจริญในตับและเชื้อจะถูกขับออกทางน้ำดีและอุจาระ มักจะระบาดในชุมชนที่อยู่กันหนาแน่นและไม่ถูกสุขลักษณะ

ระยะฟักตัว
คือระยะเวลาตั้งแต่เราได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการโดยเฉลี่ยประมาณ 28 วัน(15-50)

ระยะติดต่อ
ระยะเวลาที่จะติดต่อคนอื่นได้ง่ายที่สุดคือระยะเวลาก่อนเกิดอาการ 2 สัปดาห์และอาจจะอยู่ได้หลายสัปดาห์หลังจากมีอาการตัวเหลืองตาเหลืองแล้ว โดยเฉพาะช่วงเวลาที่ผลเลือดมีการอักเสบของตับ แม้ว่าผลเลือดจะกลับสู่ปกติเราก็ยังสามารถพบเชื้อในเลือดของผู้ป่วย

อาการของผู้ป่วย
ในเด็กอายุน้อยกว่า 6ปีมักจะไม่มีอาการแสดงอะไร สำหรับวัยรุ่นขึ้นไปพบว่าร้อยละ70-90 จะมีอาการของตับอักเสบ อาการที่สำคัญได้แก่
    •    มีไข้
    •    อ่อนเพลีย
    •    เบื่ออาหาร
    •    คลื่นไส้อาเจียน
    •    แน่นชายโครงขวา
    •    ท้องร่วง
    •    ปัสสาวะสีเข็ม อุจาระซีด
    •    และ มีอาการตัวเหลืองตาเหลืองที่เรียกว่าดีซ่าน
    •    โดยทั่วไปอากาจะหายไปใน 2 เดือน บางรายอาการอยู่ได้ 6 เดือน ผู้ป่วยมักจะมีอาการหลังจากได้รับเชื้อ 28 วัน (15-50 วัน)

อาการของไวรัสตับอักเสบ เอ แบ่งออกเป็น 4 ระยะได้แก่
    1.    ระยะแรกเรียกว่า ระยะฟักตัวเป็นระยะตั้งแต่ไดรับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการของโรคโดยปกติประมาณ 28 วัน ระยะนี้จะเป็นระยะที่สำคัญในการแพร่เชื้อ
    2.    ระยะเกิดอาการทั่วๆไปหรือ Prodome ผู้ป่วยจะเกิดอาการทั่วไปดังกล่าวข้างต้นแต่ยังไม่มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง
    3.    ระยะตัวเหลืองตาเหลือง ระยะนี้จะเริ่มหลังจากระยะที่สองประมาณ 10 วัน หลังจากตัวเหลืองตาเหลืองอาจจะมีไข้ได้อีก 2-3 วัน เมื่อมีอาการตัวเหลืองตาเหลืองแล้วเรามักจะไม่พบเชื้อในกระแสเลือด แต่ยังสามารถพบเชื้อในอุจาระและยังสามารถติดต่อไปยังผู้อื่นได้อีก 2-3 สัปดาห์
    4.    ระยะฟื้นตัว แม้ว่าการฟื้นตัวของไวรัสตับอักเสบ เอจะช้าแต่ส่วนใหญ่หายขาดโดยที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน

หากแพทย์ตรวจร่างกายจะพบว่าตับม้ามโต มีดีซ่าน

ประมาณว่าร้อยละ 10-15 จะมีการกำเริบในระยะเวลา 6 เดือนตั้งแต่เกิดการอักเสบของตับ โรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือการเกิดตับวายพบได้น้อยมากประมาณร้อยละ 0.5

ระบาดวิทยา

ไวรัสตับอักเสบ เอ ติดต่อโดยการรับประทานเชื้อเข้าไป การติดต่ออาจจะเกิดจากรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อเข้าไป หรืออาจจะเกิดจากการติดเชื้อจากคนหนึ่งสู่อีกคน เชื้อนี้ไม่ติดต่อทางน้ำลายหรือปัสสาวะ
การติดต่อของไวรัสตับอักเสบ เอ
ผู้ป่วยตับอักเสบจะขับเชื้อออกทางอุจจาระ ดังนั้นการติดต่อมักเป็นในครอบครัวและหน่วยงานการติดต่อมีได้สองรูปแบบคือ
    •    จากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง
    •    ได้รับเชื้อจากน้ำที่เปื้อนเชื้อ จากการร่วมเพศทางทวารหนัก
    •    จากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ
    •    .มักเกิดในที่ๆสุขอนามัยไม่ดี และอยู่กันเป็นกลุ่มเช่น โรงเรียน สำนักงาน กองทหาร มหาวิทยาลัย ได้รับเชื้อจากน้ำที่เปื้อนเชื้อ
ระยะ 3-10 วันก่อนเกิดอาการเราจะพบเชื้อปริมาณมากในอุจาระจนกระทั้งสองสัปดาห์ ซึ่งเป็นระยะที่ติดเชื้อได้ง่ายที่สุด

โรคนี้มักจะไม่ติดต่อทางการให้เลือดเนื่องจากช่วงที่มีเชื้อในกระแสเลือดผู้ป่วยมักจะเกิดอาการของโรคแล้ว ดังนั้นจึงไม่มีการตรวจหาเชื้อไวรสตับอักเสบ เอก่อนการบริจาคเลือด

โรคนี้ไม่ติดต่อจากแม่ไปลูก


การรักษา

ผู้ป่วยตับอักเสบ เอ หายเองได้ พักผ่อนให้เพียงพอ ต้องระวังยาที่มีผลต่อตับ เช่น paracetamol

การป้องกันไวรัสตับอักเสบ เอ

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ มีได้ 2 วิธีคือ
    1.    Immune globulin เป็นภูมิต่อไวรัสตับอักเสบ เอ จะให้ในกรณีต้องการป้องกันไวรัสตับอักเสบ เอ ในระยะสั้น เช่น ให้เพื่อป้องกันก่อนสัมผัสโรค หรือให้หลังสัมผัสโรคไม่เกิน 2 สัปดาห์
    2.Hepatitis A vaccine จะใหในกรณีเด็กอายุมากกว่า 2 ขวบที่เสี่ยงต่อการไดัรับไวรัสตับอักเสบเอ และ เมื่อได้รับเชื้อจะเกิดอันตราย


ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ที่
ช่องทางเหล่านี้



ข้อมูลจาก
www.siamhealth.net