|
โรคไวรัสตับอักเสบ ซี
เราคงคุ้นเคยกับไวรัสตับอักเสบ บี แต่ถ้าท่านติดตามโรคตับอักเสบท่านจะพบว่าไวรัสตับอักเสบ ซีเพิ่มขึ้นเนื่องจากพบได้บ่อยมากขึ้น พบได้ประมาณ 1-2% ของคนที่มาบริจาคเลือด หลังเป็นตับอักเสบแล้วก็มีแนวโน้มจะเป็นตับอักเสบเรื้อรัง 20% ของผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังชนิด ซี จะเป็นตับแข็งภายใน 10-20 ปี บางส่วนกลายเป็นมะเร็งตับ
ขอขอบคุณ นายแพทย์ ศัลยวิทย์ จิตต์มิตรภาพ เพื่อความเข้าใจศัพท์เพิ่มเติม สามารถดูความหมายคำสำคัญจากลิงค์นี้ - คำสำคัญเกี่ยวกับเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไวรัสตับอักเสบ ซี การวินิจฉัย • ไวรัสตับอักเสบเฉียบพลัน โดยการเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับพบว่ามีการอักเสบ และตรวจพบ Anti-HCV หรือ HCV-RNAในเลือด บางรายที่ตรวจไม่เจอในระยะแรกอาจจะต้องตรวจซ้ำอีก 2-8 สัปดาห์ • ตับอักเสบเรื้อรัง ซี วินิจฉัยโดยพบว่ามีการอักเสบของตับมากกว่า 6 เดือนร่วมกับการตรวจพบ HCV -RNA ปัจจัยเสี่ยงและการติดต่อ ไวรัสตับอักเสบ ซี ติดต่อทางเลือด การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน แต่มีผู้ป่วยบางท่านได้รับเชื้อโดยไม่ทราบแหล่งที่มาปัจจัยเสี่ยงได้แก่ • ผู้ที่เคยได้รับเลือด และ สารเลือดก่อนปี คศ 1992 เนื่องจากยังไม่มีการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี • เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ได้รับอุบัติเหตุถูกเข็มตำ • ผู้ป่วยติดยาเสพติดใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน • ทารกที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อ ไวรัสตับอักเสบ ซี พบได้ร้อยละ 5 • ผู้ที่สำส่อนทางเพศ หรือ รักร่วมเพศ • ไดรับเชื้อจากการสักตามตัว กิจกรรมต่อไปนี้ไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี • การให้นมบุตร • การจามหรือไอ • อาหารหรือน้ำ • การใช้ถ้วยชามร่วมกัน อาการของผู้ป่วย • ผู้ที่เป็นตับอักเสบ ซี เรื้อรังอาจจะไม่มีอาการ หรือมีอาการแต่ไม่มาก อาการที่พบได้คือ • อ่อนเพลีย • เบื่ออาหาร • คลื่นไส้อาเจียน • ปวดชายโครงขวา • ปวดกล้ามเนื้อและ ปวดข้อ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นเรื้อรังและกลายเป็นตับแข็งจะมีอาการ • ตับ ม้ามโต • ตัวเหลืองตาเหลือง • กล้ามเนื้อลีบ • ท้องมาน • เท้าบวม การเจาะเลือดตรวจ • Anti-HCVโดยวิธี enzyme immunoassay (EIA) ถ้าเจอแสดงว่าเป็นไวรัสตับอักเสบ ซี • HCV RNA โดยวิธี polymerase chain reaction (PCR) ถ้าให้ผลบวกแสดงว่าเป็นไวรัสตับอักเสบ ซี • เจาะเลือดตรวจการทำงานของตับพบว่ามีการอักเสบของตับ • บางรายต้องตรวจโดยการเจาะชิ้นเนื้อตับเพื่อการวินิจฉัย การรักษา • โดยการให้ alpha interferon • ให้ยาสองขนานคือ alpha interferon and ribavirin. • ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันตับอักเสบ เอ และ บี • ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซีรายใดที่ควรได้รับการรักษา • มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี และ มีการเพิ่มของ SGOT,SGPT และผลการเจาชิ้นเนื้อตับพบว่ามีการอักเสบ และไม่มีข้อห้ามการให้ยา • ผู้ป่วยที่มีตับแข็งต้องไม่มี ตัวเหลืองตาเหลือง ท้องมาน เส้นเลือดในหลอดอาหารโป่งพอง ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซีรายใดที่ไม่ควรได้รับการรักษา • โรคตับแข็งและมีโรคแทรกซ้อน • ผลเลือด SGOT,SGPT ปกติ • มี ตับ ไต หัวใจวาย มีข้อห้ามในการให้ยา ข้อห้ามในการให้ยา interferon • ผู้ป่วยซึมเศร้า ติดยา ติดสุรา autoimmune disease โรคไขกระดูก ไม่สามารถคุมกำเนิด • ผลข้างเคียงของยา interferon • ผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนไข้หวัด ไข้ ปวดตามตัว ปวดหัวในระยะแรก ระยะหลังอาจมีอาการเหนื่อยหอบ ผมร่วง เม็ดเลือดขาวต่ำ ซึมเศร้า จะมีผู้ป่วยจำนวนน้อยที่เกิดอาการข้างเคียงอย่างรุนแรง เช่น โรคธัยรอยด์ ชัก หัวใจ และไตวาย นอกจากนั้นยังทำให้ตับอักเสบด้วย วิธีป้องกันตับไวรัสอักเสบ ซี • ห้ามใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน • ให้สวมถุงมือถ้าต้องสัมผัสเลือด • ห้ามใช้มีดโกนหนวด แปรงสีฟันร่วมกัน • ห้ามใช้อุปกรณ์ในการสักร่วมกัน • ให้ใช้ถุงยางคุมกำเนิดถ้าหากมีเพศสัมพันธ์หลายคน • ถ้าคุณเป็นตับอักเสบ ซีห้ามบริจาคเลือด ใครควรได้รับการเจาะเลือดตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี • ผู้ป่วยที่ฉีดยาเสพติดเข้าเส้น • ผู้ป่วยที่เคยได้เลือด และสารประกอบของเลือดก่อนปี คศ.1992 • ผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม • ผู้ป่วยที่เจาะเลือดพบว่ามีตับอักเสบ • เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ถูกเข็มตำ • เด็กที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี ผู้ป่วยที่มีไวรัสตับอักเสบ ซี จะป้องกันการอักเสบของตับอย่างไร • งดสุรา • พบแพทย์ตามนัด • ก่อนใช้ยา หรือสมุนไพรควรปรึกษาแพทย์ • ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ เอ บี ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ที่ ช่องทางเหล่านี้ ข้อมูลจาก www.siamhealth.net |